ข้อมูลพื้นฐานชุมชน
กลุ่มอาชีพผู้ประกอบการรายเดียวในหมู่บ้านซำอีเลิศ หมู่ที่ 18 ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ขอจดทะเบียนขึ้นกับ อบต.ตำบลท่าพล เมื่อปี 2559 และ ขอขึ้นทะเบียน OTOP กับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ในปี 2560 ในการก่อตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และการสร้างงานสร้างรายได้สู่ครัวเรือน ครั้งแรกเริ่มมีสมาชิกในกลุ่มเพียง 5 ราย ผลิตผลช่วงแรก ๆ โดยการนำผ้าทอมือพื้นบ้านมาแปรรูปตัดเย็บต่อหัวต่อเชิงเป็นผ้าซิ่นหรือมีการปักมือลงผืนผ้าและมีโอกาสร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง พัฒนาผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดและข้อเสนอจากกลุ่มลูกค้า ปัจจุบันมีสมาชิกมากขึ้นกว่า 30 ราย และผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 รายการ ความต้องการของกลุ่ม 1) พัฒนายี่ห้อหรือตราสินค้า “วีระดาง” 2) เพิ่มแหล่งจําหน่ายผลิตภัณฑ์ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐาน 4) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ถุงย่าม/กระเป๋าสะพายเสื้อผ้าสตรีและเครื่องแต่งกาย 5) พัฒนาแบบที่ทันสมัยเหมาะสมกับตลาด 6) มีตลาดเป้าหมายใหม่ทำตลาดในITและเพิ่มมูลค่าไปจากเดิมพัฒนาสินค้าสู่ราคาให้เหมาะสม
ประเด็นปัญหา
ด้วยกระบวนการผลิตผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ ใช้องค์ความรู้ ทั้งศาสตร์และศิลปะองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีความเข้าใจเกี่ยวกับสารที่เป็นสื่อในการจับสีหรือที่เรียกกันว่า โมเดิร์น (Mordant) และสารช่วยเปลี่ยนสีหรือโมดิไฟเออร์ (modifier) เพื่อช่วยในการทำให้สีใบไม้ติดทนนาน ตลอดจนความเป็นกรดและด่างที่มีผลต่อสีธรรมชาติที่พิมพ์ลงบนผืนผ้า ผ้าแต่ละชนิดจะรองรับสีจากธรรมชาติที่แตกต่างกันแม้ว่าสีนั้นจะมาจากใบไม้ชนิดพันธุ์เดียวกันก็ตาม แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างกัน Eco-Print เป็นผ้าพิมพ์สีธรรมชาติเป็นงานศิลปะที่สวยงามทำจากสีของใบไม้และดอกไม้ที่ออกแบบลายต่าง ๆ บนผืนผ้าธรรมชาติแต่ละผืนผ้าที่มีความสวยและความลึกซึ้งของงานศิลปะ ที่ให้สีสวยงามแตกต่างกัน เมื่อนำมาออกแบบร้อยเรียงบนผืนผ้าจะคงความเป็นเอกลักษณ์ของใบไม้และดอกไม้เหล่านั้น สีของใบไม้มองด้วยตาเปล่า จะเห็นสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อนำมาผ่านกระบวนการพิมพ์สีธรรมชาติ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติจะฝากรอยสีธรรมชาติสวยงามบนผ้าผืนนั้น ทำให้ผู้ลงมือทำผ้าแต่ละผืนมีความรู้สึกผูกพันกับธรรมชาติ เพิ่มจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ รักเสื้อผ้าที่ใช้ ทะนุถนอม ประหยัด และที่สำคัญเกิดความสุขใจ มีสมาธิ ความสงบภายในที่เกิดขึ้นจากกระบวนการธรรมชาติ สร้างในรูปแบบทำให้เกิดแฟชั่นชั้นสูง เป็นการเพิ่มคุณค่าของผ้าพร้อมกับผลงานของนักออกแบบที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ที่ยั่งยืน สามารถทำเพื่อใช้ส่วนตัวเป็นอาชีพหลัก
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเพิ่มทักษะการผ้าพิมพ์สีจากธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
2. เพื่อพัฒนายี่ห้อหรือตราสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐาน
4. เพื่อผลิตสื่องานสินค้าเพื่อจำหน่วยโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
5. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดเป้าหมายใหม่ทำตลาดใน IT
6. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำกระบวนการให้ชุมชนมีทักษาผลิตผ้าพิมพ์สีจากธรรมชาติได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
พลิกโฉมหน้าให้สื่อต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตนาไปสู่ความตื่นเต้นเร้าใจ แบบใหม่ของภาพที่ลอยออกมานอกจอมือถือ เทคโนโลยีเสมือนจริงเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ ในรูปแบบ Interactive Media โดยแท้จริง ดังนั้น โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าพิมพ์สีจากธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง จะช่วยผู้ประกอบการวีระดา (ผ้าทอมือพื้นบ้านแปรรูป) ในด้านเทคโนโลยีเสมือนจริงทำให้สินค้าที่โฆษณาอกไป น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงทำสื่อโฆษณาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เล้าเรื่องราวงานปักผ้าเพื่อใช้ในงานด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ต่อไป
แผนการดำเนินงาน
1 ภาคการศึกษา