การพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ถ่านชีวภาพเพื่อการเกษตร” ดูดซับสารพิษจากผลไม้เหลือทิ้งทางการเกษตร 2565

25/12/2024

ข้อมูลพื้นฐานชุมชน

กระบวนการเรียนรู้โดยนำชุมชนเป็นฐานรากสู่ประเด็นการพัฒนาเป็นการฝึกประสบการณ์ทำงานของนักศึกษาทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่ต้องเป็นผู้ค้นหาประเด็นปัญหาของชุมชน เรียงลำดับสภาพปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรมโครงการมีความสัมพันธ์ต้องโครงการวิจัยของนักศึกษาและงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ค้นพบต่อไปได้

ประเด็นปัญหา

ตำบลป่าเล่าเป็นตำบลที่อยู่ติดเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สิ่งที่ค้นพบสภาพเป็นหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการประกอบอาชีพเผาถ่านในชุมชนพบผลกระทบด้านสุขภาพระบบทางเดินหายใจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก ภูมิแพ้ ควันจากการเผาถ่านทำลายอากาศ ทำลายสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อที่อยู่อาศัย การกำจัดหรือทำลายชีวมวล เช่นใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษกิ่งไม้ จะใช้วิธีการเผา ทำให้เกิดควัน กลายเป็นมลพิษทางอากาศ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. ผลิตถ่านชีวภาพจากการเกษตรประยุกต์ใช้ไบโอชาร์เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
2. ออกแบบและปฏิบัติการผลิตไบโอชาร์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งหรือผลไม้ต่างๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ไบโอชาร์“ถ่านชีวภาพเพื่อการเกษตร”
-ได้ต้นแบบเตาเผา
-ได้ต้นแบบเครื่องอัดขึ้นแท่ง
ได้รูปแบบสินค้าผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากสารตั้งต้นไบโอชาร์

แผนการดำเนินงาน

1 ภาคการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล จันทร์มา

รายวิชาที่เทียบโอน

EDEN542 การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (2-2-5)
SCCS404 ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)

รายชื่อนักศึกษา
แชร์โครงการนี้

รูปภาพการดำเนินโครงการ