กระบวนการเรียนรู้โดยนำชุมชนเป็นฐานรากสู่ประเด็นการพัฒนาเป็นการฝึกประสบการณ์ทำงานของนักศึกษาทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่ต้องเป็นผู้ค้นหาประเด็นปัญหาของชุมชน เรียงลำดับสภาพปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรมโครงการมีความสัมพันธ์ต้องโครงการวิจัยของนักศึกษาและงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ค้นพบต่อไปได้ ตำบลป่าเล่าเป็นตำบลที่อยู่ติดเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สิ่งที่ค้นพบสภาพเป็นหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการประกอบอาชีพเผาถ่านในชุมชนมีจำนวน 12 ราย เมื่อนักศึกษาได้ลงพื้นที่สำรวจผลกระทบคร่าวๆ พบว่ามีผลกระทบด้านสุขภาพระบบทางเดินหายใจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก ภูมิแพ้ ควันจากการเผาถ่านทำลายอากาศ ทำลายสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อที่อยู่อาศัย นักศึกษาจึงประชุมกลุ่มย่อยถึงความเป็นไปได้ในการจัดการปัญหาตามองค์ความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต ในรายวิชาการวิจัยและพัฒนาในงานเทคโนโลยีการผลิต ที่ได้ศึกษามาและคำชี้แนะของอาจารย์ที่ปรึกษาถึงการพัฒนาถ่านชีวภาพเพื่อการเกษตร เดิมทีการกำจัดหรือทำลายชีวมวล เช่นใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษกิ่งไม้ จะใช้วิธีการเผา ทำให้เกิดควัน กลายเป็นมลพิษทางอากาศ เกิดสภาวะโลกร้อน และสิ่งที่ได้คือขี้เถาซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่เมื่อนำศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์มาบูรณาการความรู้ใน 4 วิชาได้แก่ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่าสะเต็ม ศึกษามาประยุกต์ใช้โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาหรือใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง จะพบว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือการเผาโดยใช้เตาไบโอชาร์(Biochar) ทำให้ได้ถ่านไบโอชาร์(Biochar) เป็นคาร์บอนที่มีความบริสุทธิ์สูง ได้จากกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อน เฉลี่ย 500-700 องศาเซลเซียส โดยไม่ใช้ออกซิเจน (Pirolysis) คุณสมบัติของถ่านไบโอชาร์ คือมีรูพรุนเป็นจำนวนมากเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าจุลินทรีย์ เมื่อใส่ลงไปในดินจะช่วยการระบายอากาศ ทำหน้าที่ดูดยึดธาตุอาหารมากักเก็บไว้แล้วค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช ลดความเป็นกรดของดิน จึงทำให้พืชที่ปลูกด้วยถ่านไบโอชาร์เป็นส่วนผสมมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะปลูก สิ่งที่พัฒนาคือเตาเผาถ่านชีวมวลไร้ควัน และเครื่องอัดเป็นก้อนถ่านสามารถบดและอัดได้ทั้งแบบสดและเผา เอาไปทำเป็นผลิภัณฑ์ต่อได้อีกหลากหลาย พื้นที่เป้าหมายที่มีพื้นที่ใกล้กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คือตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่บริเวณรอบ ๆมหาวิทยาลัยฯ มีกลุ่มเตาเผาถ่านซึ่งยังคงเป็นปัญหาในชุมชนจากการประกอบอาชีพสร้างมลภาวะทางอากาศมีผลต่อสุขภาพต่อชุมชนใกล้เคียง ภายใต้โครงการยุวชนอาสาปีงบประมาณ 2565 เป็นโอกาสเหมาะสมที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม/ทล.บ.เทคโนโลยีการผลิต มีความมุ่งหวังทดลองเอาเศษวัสดุเหลือทิ้ง หรือผลไม้ต่างๆ ไปเผา แล้วเอามาอัดเป็นก้อนถ่าน สามารถนำไปเป็นถ่านเชื้อเพลิง หรือถ่านดูดซับกลิ่นในครัว ในตู้เย็น หรือผลิตสินค้าชุมชนอื่นๆ โดยการนำไปใส่ในวัสดุถุงเย็บมือเป็นสินค้าที่ใช้ในบ้าน และของฝากเพื่อสุขภาพ