โครงการ
ยกระดับสุขภาพชุมชน ตำบลท่าพล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขในยุค New normal

ประเด็นปัญหา

จากการสำรวจข้อมูลพื้นที่ตำบลท่าพลเบื้องต้น โดยใช้ชุดแบบสำรวจข้อมูลชุมชน พบจุดพัฒนาและประเด็นปัญหาของพื้นที่ ดังนี้
1) เพื่อรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ชุมชนเป็นกระบวนการศึกษาอย่างรอบด้านและเป็นองค์รวม เพื่อนำไปสู่การแสวงหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหรือการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาสุขภาพชุมชนสามารถร่วมคิดร่วมทำและเอื้อประโยชน์ให้ชุมชนในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ การดึงศักยภาพและการพัฒนาขีดความสามารถด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟู อย่างยั่งยืน
2) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับการออมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของกลุ่มคนวัยทำงาน รวบรวมข้อมูลเชิงลึกของประชาชนตำบลท่าพล เพื่อทำความเข้าใจถึงความรู้สึก ความคิดเห็น และพฤติกรรมทางด้านการเงินส่วนบุคคล โดยแบบประเมินสุขภาพทางการเงินเพื่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ดัชนีชี้วัดสุขภาพทางการเงิน (GoBear Financial Health Index) จากโกแบร์ (GoBear Financial Health Index - FHI) เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมด้านการเงินส่วนบุคคลในทุก ๆ ด้าน เมื่อเข้าใจพฤติกรรมทางการเงินของคนแต่ละคนมากขึ้นแล้ว สามารถที่จะชี้แนวทางเพื่อช่วยให้คนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในทุกระดับขั้นของชีวิต
3) พัฒนาและการจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างชุมชนเข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่จากปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมชุมชน นำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาร่วมกับทางชุมชนเพื่อเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน แต่ในตำบลท่าพลยังขาดพลังอำนาจทางสุขภาพ Health Empowerment และยังไม่มีระบบการจัดการขยะ รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้นกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เริ่มจากหาสาเหตุของปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ไข ปัญหา และแนวทางในการป้องกันปัญหา การตัดสินใจและการดำเนินการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในการช่วยกันแก้ไขปัญหา เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดตั้งแต่การดำเนินงาน เป็นการร่วมกำหนดปัญหา วางแผนตัดสินใจ ระดมทรัพยากรบริหารจัดการ ติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของคนในชุมชนอันจะสร้างความเข้มแข็งจากภายใน